

พร้อมให้บริการด้วยความเชี่ยวชาญของเรา
ในกระบวนการการจัดตั้งบริษัทในประเทศไทย ย่อมดำเนินไปได้ดีกว่าหากท่านการได้รับการสนับสนุนจากทีมงานที่เป็นมืออาชีพและมีความสามารถ ท่านจะสามารถใช้สิทธิประโยชน์ด้านเงินอุดหนุน การยกเว้นภาษีและสิทธิประโยชน์อื่น ๆ ที่รัฐบาลไทยเสนอให้แก่นักลงทุนได้อย่างเต็มที่
ความเชี่ยวชาญของเราด้านการให้บริการแก่บริษัทของท่านในประเทศไทย
ทีมงานของเรามีประสบการณ์ในทุกระดับยุทธศาสตร์สำหรับบริษัทของท่านในประเทศไทย: การสมัครรับข้อเสนอส่งเสริมการลงทุนจาก BOI, การตรวจลงตราหรือวีซ่า ใบอนุญาตทำงาน การบัญชี พิธีศุลกากรการนำเข้า–ส่งออก ฯลฯ
โปรดติดต่อเราหากท่านต้องการข้อมูลเพิ่มเติมหรือสอบถามข้อสงสัยใด
BOI Thai พร้อมให้บริการด้วยความเชี่ยวชาญของเรา.
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ)
เป็นหน่วยงานราชการในสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี มีหน้าที่และความรับผิดชอบในการ ส่งเสริมการลงทุนทั้งในประเทศและการลงทุนของไทยในต่างประเทศ

สิทธิประโยชน์ เพื่อการส่งเสริมการลงทุนในประเทศ
สิทธิประโยชน์ด้านภาษี
• ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสูงสุด 13 ปี (ขึ้นกับประเภทกิจการและเงื่อนไข)
• ลดหย่อนภาษีเงินได้ 50% อีก 5 ปี (เฉพาะเขตส่งเสริมการลงทุน)
• ยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร
• ยกเว้นอากรขาเข้าวัตถุดิบผลิตเพื่อการส่งออก
• ยกเว้นอากรขาเข้าส�ำหรับของที่น�ำเข้ามาเพื่อใช้ในการวิจัยและพัฒนา
สิทธิประโยชน์ที่ไม่เกี่ยวกับภาษี
• อนุญาตต่างชาติถือหุ้น 100% (ยกเว้นกิจการตามบัญชีหนึ่งท้ายพระราชบัญญัติ ประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวหรือที่มีกฎหมายอื่นก�ำหนดไว้เป็นการเฉพาะ)
• อนุญาตให้ถือครองกรรมสิทธิ์ที่ดิน
• อนุญาตให้ช่างฝีมือ/ผู้ช�ำนาญการเข้ามาท�ำงาน

บริการหลักของบีโอไอ
– บริการให้ค�ำปรึกษาแนะน�ำ ข้อมูลด้านการลงทุน และการขอรับส่งเสริมการลงทุน
– ประสานงานกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนเพื่ออ�ำนวยความสะดวกในการด�ำเนินธุรกิจ แก่นักลงทุน เช่น การจัดตั้งบริษัท การยื่นขอใบอนุญาตท�ำงาน เป็นต้น
– บริการเชื่อมโยงและจัดหาผู้ผลิตชิ้นส่วนในประเทศ
– บริการจัดหาผู้ร่วมทุน
– บริการแนะน�ำและรับรองผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยศูนย์บุคลากร ทักษะสูง (Strategic Talent Center: STC)
– บริการให้ค�ำแนะน�ำการลงทุนของคนไทยในต่างประเทศ และจัดอบรมหลักสูตรการลงทุน ของคนไทยในต่างประเทศ
ศูนย์บริการเบ็ดเสร็จด้านการลงทุน
ให้บริการเบ็ดเสร็จด้านการลงทุนในเรื่องเกี่ยวกับ
– การลงทุนในกิจการส�ำนักงานใหญ่ข้ามชาติ (IHQ)
– การลงทุนในกิจการการค้าระหว่างประเทศ (ITC)
– การลงทุนในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ (SEZ)
– การน�ำเข้าช่างฝีมือและผู้ช�ำนาญการต่างชาติส�ำหรับกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน
หลักเกณฑ์การอนุมัติโครงการ

– ต้องมีมูลค่าเพิ่มไม่น้อยกว่า 20% ของรายได้ ยกเว้นกิจการเกษตรและผลิตผล จากการเกษตร กิจการอิเล็กทรอนิกส์และชิ้นส่วน และกิจการตัดโลหะ ต้องมีมูลค่าเพิ่ม ไม่น้อยกว่า 10%
– ใช้กรรมวิธีการผลิตที่ทันสมัย
– ต้องมีแนวทางและมาตรการป้องกันและลดผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่เพียงพอ และมีประสิทธิภาพ ส�ำหรับโครงการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม คณะกรรมการจะพิจารณาเป็นพิเศษในเรื่องสถานที่ตั้งและวิธีจัดการมลพิษ
เงินลงทุนขั้นต�่ำ
– ต้องมีเงินลงทุนขั้นต�่ำไม่น้อยกว่า 1 ล้านบาท (ไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน)
– ส�ำหรับกลุ่มธุรกิจบริการที่ใช้ฐานความรู้เป็นปัจจัยหลักในการท�ำธุรกิจ เช่น กิจการ R&D, Software, Electronic Design, Engineering Design, Creative Design เป็นต้น จะต้องมี ค่าใช้จ่ายเงินเดือนบุคลากรเฉพาะด้านที่ก�ำหนด ไม่น้อยกว่า 1.5 ล้านบาทต่อปี
– ต้องมีอัตราส่วนหนี้สินต่อทุนจดทะเบียนไม่เกิน 3 ต่อ 1 ส�ำหรับโครงการริเริ่ม ส่วนโครงการขยาย จะพิจารณาความเหมาะสมเป็นรายกรณ

ประเภทกิจการที่ให้การส่งเสริมการลงทุน
ข้อมูลเพิ่มเติม
ผู้ขอรับการส่งเสริมการลงทุนควรจะทราบถึงกิจการที่เปิดให้การส่งเสริมการลงทุน โดยในหลายประเภทกิจการที่สำคัญได้กำหนด เงื่อนไขไว้เฉพาะ ประเภท ขนาด และเงื่อนไขกิจการที่ให้การส่งเสริมการลงทุนนี้ ได้รวบรวมจากประกาศต่างๆ ซึ่งผู้ขอรับการส่งเสริมการลงทุน สามารถศึกษาข้อมูล จากประกาศเพิ่มเติม เพื่อประกอบการขอรับการส่งเสริมการลงทุน
กิจการที่มีความสำคัญและเป็นประโยชน์ต่อประเทศเป็นพิเศษ ซึ่งจะได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลโดยไม่กำหนดวงเงินภาษีเงินได้นิติบุคคลที่จะได้รับการยกเว้น ดังนี้
- ประเภท 1.3 กิจการปลูกไม้เศรษฐกิจ (ยกเว้นยูคาลิปตัส)
- ประเภท 3.9 กิจการบริการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์
- ประเภท 4.11.1 กิจการผลิตลำตัวอากาศยาน ชิ้นส่วนลำตัวอากาศยาน ชิ้นส่วนสำคัญเช่น เครื่องยนต์ ชิ้นส่วนอากาศยาน ใบพัด อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
- ประเภท 5.6 กิจการออกแบบทางอิเล็กทรอนิกส์
- ประเภท 5.7 กิจการซอฟต์แวร์
- ประเภท 7.1.1.1 กิจการผลิตพลังงานไฟฟ้าหรือพลังงานไฟฟ้าและไอน้ำจากขยะ หรือเชื้อเพลิงจากขยะ (Refuse Derived Fuel)
- ประเภท 7.8 กิจการบริการด้านจัดการพลังงาน (Energy Service Company: ESCO)
- ประเภท 7.9.2 กิจการนิคมหรือเขตอุตสาหกรรมด้านเทคโนโลยี
- ประเภท 7.10 กิจการ Cloud Service
- ประเภท 7.11 กิจการวิจัยและพัฒนา
- ประเภท 7.12 กิจการเทคโนโลยีชีวภาพ (Biotechnology)
- ประเภท 7.13 กิจการบริการออกแบบทางวิศวกรรม
- ประเภท 7.14 กิจการบริการทดสอบทางวิทยาศาสตร์
- ประเภท 7.15 กิจการบริการสอบเทียบมาตรฐาน
- ประเภท 7.19 กิจการสถานฝึกฝนวิชาชีพ
ที่มา: ประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนที่ 2/2557 และ ประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนที่ ส.1/2560ปรับปรุง ณ วันที่ 1 พฤศจิกายน 2560